ปฏิกิริยา ของ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562

แกนนำพรรคเพื่อไทยแถลงในคืนวันเลือกตั้งว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีความไม่ชอบมาพากล มีการใช้เงินมากในบางพื้นที่ และมีการส่งบุคลากรมาพบสมาชิกพรรคเพื่อไทยในช่วง 2 วันก่อนการเลือกตั้ง[148] ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เขียนลงหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์วิจารณ์กรรมการการเลือกตั้งที่เปิดเผยผลการเลือกตั้งเบื้องต้นอย่างเป็นทางการล่าช้า ซึ่งแสดงว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติกลัว ทักษิณชี้ว่าในบางพื้นที่มีคะแนนที่ผู้สมัครได้รับเกินผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผลการเลือกตั้งที่ กกต. กลางออกไม่ตรงกับคะแนนที่สถานีเลือกตั้ง มีรายงานว่าบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนเสียงไม่ถูกต้องแต่เลือกพรรคพลังประชารัฐกลับถูกนับเป็นบัตรดี และมีบัตรเลือกตั้งถูกนับเป็นบัตรเสียมากจนน่ากังขา[149] ด้านสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรปเรียกร้องให้ทางการสอบสวนความไม่ชอบมาพากลในการเลือกตั้ง ฝ่ายสหรัฐเรียกร้องให้กรรมการการเลือกตั้งเปิดเผยผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการโดยเร็ว[150] คณะกรรมการการเลือกตั้งยืนยันว่าไม่มีบัตรปลอมและบัตรเกิน พร้อมขู่ว่าหากแบ่งปันข่าวปลอมดังกล่าวจะมีความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550[151]

พลตำรวจเอก ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ระบุว่า มีการเตรียมกำลังและที่คุมขังพร้อมรับการชุมนุมคัดค้านผลการเลือกตั้ง[152] วันที่ 28 มีนาคม 2562 ผู้บัญชาการห้าเหล่าทัพแถลงจุดยืนร่วมกันว่าการดำเนินการตามพระบรมราโชวาทให้คนดีปกครองบ้านเมือง และให้ประชาชนเชื่อมั่นในการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง[153]

สภาพไม่แน่นอนหลังการเลือกตั้งทำให้ต่างชาติชะลอการลงทุนในประเทศไทย โดยตั้งแต่ต้นปี 2562 ไฟแนนเชียลไทมส์ คำนวณว่าต่างชาติถอนเงินจากตลาดหุ้นและพันธบัตร 730 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[154]

วันที่ 2 เมษายน 2562 พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก แถลงให้ประชาชนทุกฝ่ายสามัคคีกันและเคารพกติกา สาธยายพฤติกรรมของนักการเมืองในอดีต พร้อมทั้งกล่าวหาผู้ไปศึกษาต่อต่างประเทศบางคนว่ามีพฤติการณ์พยายามเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข[155]

การประท้วงคณะกรรมการการเลือกตั้ง

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องส่วนใหญ่รู้สึกว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งลำเอียงเข้าข้างพรรคพลังประชารัฐ เมื่อดูจากการปฏิบัติต่อพรรคพลังประชารัฐเมื่อเทียบกับพรรคอื่น[10]:53 คณะกรรมการการเลือกตั้งตัดสิทธิ์ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยคนหนึ่งฐานบริจาคเงินในช่วงรณรงค์หาเสียง และผู้สมัครจากพรรคอนาคตใหม่คนหนึ่งฐานเป็นเจ้าของบริษัทสื่อทั้งที่ยังไม่ได้ประกอบธุรกิจ อย่างไรก็ดี ผู้สมัครรายอื่นอีกหลายคนก็บริจาคเงินระหว่างรณรงค์หาเสียงและถือหุ้นสื่อเช่นเดียวกัน แต่ไม่ถูกตัดสิทธิ[10]:55,57

วันที่ 27 มีนาคม 2562 สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยเตรียมรวบรวมรายชื่อประชาชน 20,000 คนเพื่อยื่นถอดถอนคณะกรรมการการเลือกตั้งหลังมีมติให้บัตรเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรจากประเทศนิวซีแลนด์เป็นโมฆะ[55] มีการตั้งโต๊ะรวบรวมรายชื่อเพื่อยื่นถอดถอนคณะกรรมการการเลือกตั้งในพื้นที่ 9 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ[156] แต่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไม่ให้จัดกิจกรรมดังกล่าว จึงย้ายไปอยู่หน้าประตูทางเข้าแทน[157] มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบไปสังเกตการจัดกิจกรรมดังกล่าวที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยระบุว่าไปดูว่าทำผิดกฎหมายชุมนุมในที่สาธารณะหรือไม่[158] ในวันที่ 31 มีนาคม 2562 มีการตั้งโต๊ะรวบรวมรายชื่อบริเวณแยกราชประสงค์[159] และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ[160] วันที่ 1 เมษายน บนเว็ปไซต์ change.org มีการร่วมลงชื่อถอดถอนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งในวันที่ 30 มีนาคม สามารถรวบรวมรายชื่อได้ถึง 800,000 รายชื่อแล้ว[161] องค์การที่ยื่นหนังสือเพื่อต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติให้ถอดถอน กกต. ได้แก่ เครือข่ายคนรุ่นใหม่[162] และสมาคมพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย[163]

วันที่ 8 เมษายน 2562 กลุ่มเครือข่ายนักศึกษาติดตามการเลือกตั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออ่านแถลงการณ์ระบุถึงความหย่อนสมรรถนะของ กกต.[164] วันที่ 10 เมษายน นักวิชาการเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองเข้ายื่นจดหมายต่อ กกต. ให้เปิดเผยคะแนนอย่างโปร่งใสและให้ถอนฟ้องประชาชนที่วิจารณ์ กกต. เช่นเดียวกับเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมและสิทธิมนุษยชนจำนวน 63 องค์การ[165] วันที่ 11 เมษายน มีการจัดกิจกรรมชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเพื่อเรียกร้องให้ กกต. ถอนฟ้องประชาชน[166]

ใกล้เคียง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/830478 http://www.bbc.com/news/business-30218621 http://www.bbc.com/thai/thailand-43221557 http://www.ft.com/intl/cms/s/0/a01892a6-fe33-11e4-... http://www.khaosodenglish.com/politics/2018/11/30/... http://www.khaosodenglish.com/politics/2019/02/18/... http://www.khaosodenglish.com/politics/2019/02/27/... http://www.khaosodenglish.com/politics/2019/03/26/... http://www.khaosodenglish.com/politics/2019/03/28/... http://www.khaosodenglish.com/politics/2019/04/02/...